ความรักของพระเจ้าในประวัติศาสตร์แห่งความรอด

“ความรัก” ในพันธสัญญาเดิม

       พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์นี้ ถ้าเราจะนิยามแนวความคิดหลักพระคัมภีร์ อาจเรียกได้ว่าเป็น พระเจ้าเป็นศูนย์กลางของเนื้อหา “Theocentrically” หรืออาจกล่าวได้ว่า “theocratically” โดยใจความสรุปคือ พระคัมภีร์มีศูนย์กลางหรือแก่นสำคัญคือ พระเจ้าในฐานะเป็นพระผู้สร้างและเป็นเจ้านายเหนือสรรพสิ่ง และขณะเดียวกันทรงเป็นพระผู้ทรงตัดสินที่ยุติธรรมของมนุษยชาติ ด้วยเหตุผลนี้ที่เป็นพื้นฐานของพระคัมภีร์ที่เปิดเผยความหมายของพระเจ้า และความหมายที่แท้จริงของมนุษยชาติให้แก่เรา เราจึงจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงความหมายของคำว่า “ความรัก” ซึ่งเป็นความรักของพระเจ้าที่เป็นศูนย์กลางของพระคัมภีร์ที่เราจะพิจารณา ศึกษา และไตร่ตรอง

ความรักของพระเจ้าต่อเรามนุษย์

       ตั้งแต่เริ่มต้นพระคัมภีร์ทีเดียว เรื่องความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์นี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในพระคัมภีร์ เพราะว่าในพระคัมภีร์นั้นคำศัพท์นี้ปรากฏบ่อยๆ ครั้ง สามารถพบได้ในเรื่องราวต่างๆ ของพระคัมภีร์ตั้งแต่เริ่มแรกทั้งทางตรงและทางอ้อมที่แสดงออกให้เห็นความหมายของความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์โดยตลอด
       ให้เราพิจารณาจากตัวบทของพระคัมภีร์ในพันธสัญญาเดิม และไตร่ตรองถึงรายละเอียด ทังนี้เพื่อเราจะเห็นว่า ตลอดประวัติศาสตร์แห่งความรอดในพระคัมภีร์ ความรักของพระเจ้าแสดงออกแม้แต่ในตำนานธรรมที่เล่าเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ด้วยเช่นกัน

  • ในเรื่อง “การสร้าง” นั้นทำให้เราเห็นว่า การสร้างของพระเจ้านั้นเป็นงานแห่งความรักและความเมตตาของพระเจ้าพระผู้สร้าง (ปฐก 1:4, 10, 31 ดู สดด 136:1-9)
  • ศูนย์กลางของการสร้างของพระเจ้านั้นคือ “มนุษย์” ซึ่งพระองค์ทรงสร้างตามภาพลักษณ์ของพระองค์ ให้เหมือนพระองค์ (ปฐก 1:26f; 9:6: ปชญ 2:23) มนุษย์ถูกสร้างอย่างพิเศษด้วยความรัก และทรงนำมนุษย์มาไว้ในสวนแห่งความสุข (ปฐก 2:7ff แหล่งธรรมประเพณี J หรือ E และดู ปชญ 9:2ff; บสร 17:1-14)
  • แม้ว่ามนุษย์จะได้ละเมิดต่อพระเจ้า กระทำสิ่งชั่วร้าย และต้องตกต่ำอันเนื่องมาจากบาป แต่พระเจ้าไม่ได้ลงโทษโดยปราศจากพระกรุณา แต่พระองค์ทรงสัญญาจะประทานการช่วยให้รอดพ้นในอนาคต (ปฐก 3:14f)
  • ในท่ามกลางความสิ้นหวัง ผิดหวังของพระเจ้าเพราะความเลวร้ายของมนุษย์ในสมัยของโนอาห์ ซึ่งพระองค์ปรารถนาจะทำการกวาดล้างทุกสิ่งที่ทรงสร้าง แต่ว่า โนอาห์เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า “found grace (hen) in the eyes of Yahweh” (6:8)
  • หลังจากน้ำวินาศ โนอาห์และครอบครัวได้เป็นคู่สัญญากับพระเจ้า พระเจ้าทรงกระทำพันธสัญญากับโนอาห์กับลูกหลาน และสรรพสิ่งบนแผ่นดินได้รับพรจากพระเจ้า เหมือนเมื่อครั้งการสร้างครั้งแรก (9:1-17)
  • “อับราฮัม” พระเจ้าทรงเลือกสรรอับราฮัมโดยเฉพาะ พิเศษ และเจาะจง ทรงนำเขามาสู่การพิทักษ์รักษาของพระองค์ และทรงกระทำพันธสัญญากับเขา ซึ่งพันธสัญญานี้วางรากฐานอยู่บนความจริงที่ว่า “พระยาห์เวห์ทรงซื่อสัตย์” (’emeth 15:6 [J])
  • พระยาห์เวห์ทรงรื้อฟื้นพันธสัญญานี้ตลอดทุกสมัยของบรรดาอัยกา กับอิสอัค 26:3-6 และกับยาโคบ 28:13ff; 35:11ff)
  • “ความรักของพระเจ้าฉันบิดาต่อบุตร” ซึ่งพระยาห์เวห์ได้ทรงแสดงออกต่อประชากรอิสราแอล “บุตรหัวปี” (อพย 4:22) ความรักนี้แสดงออกอย่างเด่นชัดในการช่วยปลดปล่อยประชากรของพระองค์ใด้รอด โดยอัศจรรย์มากมายพระองค์ทรงปลดปล่อยพวกเขาออกจากประเทศอียิปต์ จากแดนทาสที่พวกเขาถูกกดขี่อย่างสาหัส ดู ฉธบ 1:30ff
  • การกอบกู้นี้เองที่ทำให้เสียงเพลงแห่งความยินดี และชัยชนะถูกเปล่งร้องจากประชากรของพระเจ้า (อพย 15:1-18) และเป็นพื้นฐานของการให้กำลังใจต่อประชากรของพระเจ้า (ฉธบ 4:32-8; 32:1-47; ยชว 24:2-13)
  • “พันธสัญญาที่ภูเขาซีนาย” เป็นพันธสัญญาที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกประชากรอิสราแอลนี้เพื่อพระองค์ เพื่อเป็น
    • “ทรัพย์สมบัติพิเศษของพระองค์” เพื่อเป็น
    • “อาณาจักรแห่งสงฆ์ (a kingdom of priests)” และเพื่อเป็น
    • “ประชากรศักดิ์สิทธิ์ (a holy people)
  • สิ่งสำคัญที่สุดที่เราเห็นได้จากการเลือกสรรแบบพิเศษที่ภูเขาซีนายนี้ เป็นการแสดงออกซึ่งความเมตตากรุณาและความใจดีของพระเจ้า (อพย 19:4ff; 34: 9f; ฉธบ 4:31;7:7f)

ปรากฏการณ์ตรงที่แสดงออกถึงความรักของพระยาห์เวห์ในหนังสือปัญจบรรพ

  • คำว่า “ ‘ahab” ถูกใช้เพื่อหมายถึง “ความรักของพระเจ้า” เป็นความรักด้วยพระทัยอิสระของพระเจ้าที่ทรงเลือกสรรประชากรของพระองค์ในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ (4:37; 7:7f 10:15)
  • แต่ความรักของพระเจ้ายังปรากฏในรูปคำว่า “hen” (ทรงพอพระทัย โปรดปราน ทรงประทานพระหรรษทาน ปฐก 6:8; 19:19 อพย 33:12f, 16f)
  • คำว่า “hanan” (ทรงโปรดปรานต่อ.. ปฐก 33:5, 11; 43:29 Ex 33:19)
  • คำสำคัญมากๆ ที่เป็นแก่นแสดงความรักของพระเจ้าที่มีต่อประชากรของพระองค์คือ คำว่า “hesed” (ความรักมั่นคง ความโปรดปราน ความดี ปฐก 19:19; อพย 20:6; ฉธบ 5:107:9, 12; การให้อภัยความผิด กดว 14:19f)
  • นอกนั้นยังปรากฏเป็น “raham หรือ merahem (ทรงพระกรุณาต่อ... อพย 33:19 ฉธบ 17:18; 30:3)
  • ในเมื่อพระยาห์เวห์ทรงเป็นพระเจ้า ที่ทรงทำพันธสัญญาแห่งความจริง และความสัตย์ซื่อ
  • “พระองค์ทรงเป็นศิลา พระราชกิจของพระองค์ก็ดีพร้อม
     หนทางทั้งหลายของพระองค์ล้วนเที่ยงธรรม
     พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ซื่อสัตย์ ไม่ทรงหลอกลวง
     พระองค์ทรงความเที่ยงธรรมและยุติธรรม!
    (ฉธบ 32:4)”

  • การปกครองของพระยาห์เวห์ถูกเปิดเผยในพระคัมภีร์ ในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้า “องค์ความรัก ทรงพระเมตตา kindness และทรงเป็นความจริง truth” (hesed we’emeth= Kindness and truth) ดู ปฐก 24:27; และดู 24:12 ด้วย
  • พระเจ้าองค์ความรักเมตตา และทรงความสัตย์จริงนี้ ได้พัฒนาความหมายขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมาถึงรูปแบบของการประกาศอย่างสง่าถึงลักษณะของพระเจ้า เป็นการแสดงออกซึ่งความหมายของการเป็นพระเจ้าอย่างเป็นภาษาทางการ (2ซมอ 2:6; สดด 25:10; 40:11; 57;3; 89:14, 24, 33; มีคา 7:20)
  • ดังนั้น สำหรับความหมายของพระยาห์เวห์ในอิสราแอลโบราณจึงสรุปได้ว่า “พระยาห์เวห์ทรงเป็นพระเจ้าที่ทรงพระเมตตาและกรุณา (a merciful [rahum] and gracious [hannun] God) ซึ่งเห็นได้ชัดจากตัวบทต่อไปนี้
  • 'เราเป็นพระยาห์เวห์ พระเจ้าผู้เมตตาและกรุณา ไม่โกรธง่าย เปี่ยมด้วยความรักมั่นคง และความซื่อสัตย์ เรารักษาความรักมั่นคงของเราไว้แก่ชนหลายพันชั่วอายุคน และอภัยความผิด อภัยการล่วงเกินและอภัยบาป แต่เราไม่ละเลยที่จะลงโทษ เราจะลงโทษความผิดของบิดาในลูกหลานเหลนจนถึงสามสี่ชั่วอายุคน!'  (อพย 34:6) ดู สดด 86:15; 103:8; 111:4; etc

  • ดังนั้นในหนังสือพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมในช่วงแรกๆ ดูเหมือนว่า ความรักของพระเจ้า หรือความรักของพระยาห์เวห์นี้ ได้เป็นที่รู้จักในใจความที่ว่า ความรักของพระเจ้าแสดงออกมาเป็นความเมตตา และการอภัยโทษความผิดนั่นเอง (ดู กดว 14:17ff)
  • และเราเห็นความจริงประการดังกล่าวที่ว่า ความรักของพระเจ้าคือ ความเมตตาและการอภัยความผิด คือ แม้ว่าพวกเขากระทำความผิด และพระองค์ทรงส่งการตีสอนลงโทษมาให้ และความจริงก็คือ พระประสงค์ของพระองค์ในการตีสอนลงโทษดังกล่าวนั้นเป็นการกระทำเพื่อโน้มน้าวจิตใจ และโน้มนำพวกเขาให้กลับใจมาหาพระองค์ โดยเลิกเดินทางผิดๆ ของตนเอง (ลนต 26:40-45; กดว 14:20-25; ฉธบ 4:25-31; 30:1-10)
  • โดยธรรมชาติของความรักของพระเจ้านั้น พระองค์ย่อมสามารถรักเป็นอิสระอย่างยิ่ง และไม่ได้ต้องการอะไรเป็นการตอบแทนจากมนุษย์ (อพย 33:19) แต่ทว่าโดยธรรมชาติของพันธสัญญานั้น พระเจ้าย่อมต้องการและเรียกร้องให้มนุษย์รับใช้พระเจ้า และถือตามพระบัญญัติของพระเจ้า และที่สำคัญในเงื่อนไขของพันธสัญญานั้น มนุษย์ย่อมต้องรักพระองค์เป็นการตอบแทน
  • ก่อนหน้านี้เราทราบจากตัวบทแล้วว่า ความรักของพระเจ้านั้นได้รับการประกาศอย่างสง่าว่า “เพราะเรา คือพระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่านเป็นพระเจ้าที่ไม่ยอมให้มีคู่แข่ง เป็นพระเจ้าที่ลงโทษความผิดบิดาที่เกลียดชังเรา ไปถึงลูกหลานจนถึงสามสี่ชั่วอายุคน  แต่เราแสดงความรักมั่นคงต่อผู้ที่รักเราและปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา จนถึงพันชั่วอายุคน” (อพย 20:5f [J]; ดู ฉธบ 5:9f; 7:9-15)
  • “พระเจ้าที่ไม่ยอมให้มีคู่แข่ง” (Jealousy) ในที่นี้มีเป้าหมายเพื่อหมายถึงความลึกสุดหยั่งได้แห่งความรักของพระเจ้า เป็นความรักที่ลึกซึ้งและไม่มีความรักใดสามารถมาเป็นคู่แข่งหรือเปรียบเทียบได้
  • “เป็นพระเจ้าที่ลงโทษความผิดบิดาที่เกลียดชังเรา ไปถึงลูกหลานจนถึงสามสี่ชั่วอายุคน  แต่เราแสดงความรักมั่นคงต่อผู้ที่รักเราและปฏิบัติตามบทบัญญัติของเรา จนถึงพันชั่วอายุคน” แม้การลงโทษนั้นจำเป็นเพื่อแสดงความยุติธรรมของพระเจ้าแต่ข้อความสำคัญอย่างยิ่งที่ตามมาคือ “ความรักมั่นคง” (hesed)

อ่านต่อสัปดาห์หน้า...